เครือจักรภพโปแลนด์-ลิทัวเนีย (โปแลนด์: Rzeczpospolita Obojga Narod?w; อังกฤษ: Polish-Lithuanian Commonwealth) มีชื่อเป็นทางการว่า “Rzeczpospolita Korony Polskiej i Wielkiego Ksi?stwa Litewskiego” หรือที่รู้จักกันในนาม “สาธารณรัฐโปแลนด์ที่ 1” (First Polish Republic) หรือ “สาธารณรัฐแห่งสองชาติ” (Republic of the Two Nations) (โปแลนด์: Pierwsza Rzeczpospolita หรือ Rzeczpospolita Obojga Narod?w; ลิทัวเนีย: Abiej? taut? respublika) เป็นเครือจักรภพที่ใหญ่ที่สุดและมีประชากรมากที่สุด แห่งหนี่งในยุโรปในคริสต์ศตวรรษที่ 17 โครงสร้างทางการเมืองเป็นกึ่งสหพันธรัฐ กึ่งราชาธิปไตย เครือจักรภพก่อตั้งขึ้นในปี ค.ศ. 1569 โดยสหภาพลูบลิน (Union of Lublin) ซึ่งรวมราชอาณาจักรโปแลนด์เข้ากับแกรนด์ดัชชีลิทัวเนียมาจนถึงวันที่ 3 พฤษภาคม ค.ศ. 1791 เครือจักรภพมีได้ครอบคลุมเพียงดินแดนโปแลนด์และลิทัวเนียเท่านั้น แต่ยังรวมดินแดนทั้งหมดของเบลารุสและลัตเวีย ดินแดนส่วนใหญ่ของยูเครนและเอสโตเนีย รวมถึงบางส่วนของประเทศรัสเซียปัจจุบัน (แคว้นสโมเลนสค์และคาลินินกราด) ภาษาราชการแต่เดิมได้แก่ภาษาโปแลนด์กับภาษาละตินในราชอาณาจักรโปแลนด์ และภาษาลิทัวเนียกับภาษารูทีเนียในแกรนด์ดัชชีลิทัวเนีย
เครือจักรภพโปแลนด์-ลิทัวเนียเป็นอาณาจักรที่ก่อตั้งจากอาณาจักรสองแห่งที่มีความสัมพันธ์กันอย่างไม่เป็นทางการมาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1386 ระบบการปกครองที่มักจะเรียกกันว่า “ประชาธิปไตยของชนชั้นสูง” (Noble's democracy) หรือ “เสรีภาพทอง” ซึ่งเป็นการปกครองโดยเจ้าผู้ครองนครที่ปกครองตามกฎหมายและสภานิติบัญญัติเซย์ม (Sejm) ที่ควบคุมโดยขุนนาง (szlachta) ระบบที่ว่านี้เป็นรากฐานของระบบประชาธิปไตยอย่างกว้าง ๆ ในสมัยใหม่ และระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ รวมทั้งระบบสหพันธรัฐ รัฐทั้งสองแต่เดิมมีฐานะเท่ากันอย่างเป็นทางการ แต่ตามความเป็นจริงโปแลนด์มักจะมีอำนาจเหนือกว่าคริสตจักรโรมันคาทอลิกมีบทบาทสำคัญในกิจการในเครือจักรภพ แต่เครือจักรภพก็ได้ชื่อว่าให้เสรีภาพในการนับถือศาสนา แต่เสรีภาพจะมากหรือน้อยก็ขึ้นอยู่กับสมัย เศรษฐกิจส่วนใหญ่มาจากการทำกสิกรรม ในช่วงร้อยปีแรกที่ก่อตั้งถือกันว่าเป็น “ยุคทอง” สำหรับทั้งโปแลนด์และลิทัวเนีย ร้อยปีที่สองเครือจักรภพพ่ายแพ้สงครามและประชาชนกลับกลายเป็นทาสที่ดิน หรือที่รู้จักกันว่าสถานภาพการเป็นทาสครั้งที่สอง) และในทางการเมืองก็เริ่มเกิดการปฏิวัติล้มล้างระบบ (anarchy) กันมากขึ้น ไม่นานก่อนสิ้นอำนาจเครือจักรภพยอมรับระบบรัฐธรรมนูญที่เก่าเป็นที่สองของรัฐธรรมนูญสมัยใหม่
ดัชชีวอร์ซอซึ่งก่อตั้งเมื่อปี ค.ศ. 1807 มีรากฐานมาจากเครือจักรภพ ขบวนการการปฏิรูปเกิดขึ้นระหว่าง “การปฏิวัติเดือนมกราคม” ระหว่างปี ค.ศ. 1863 ถึงปี ค.ศ. 1864 และในคริสต์ทศวรรษ 1920 โดยความพยายามที่ล้มเหลวในการสร้างสหพันธรัฐ “Mi?dzymorze” (ระหว่างทะเล) ของยูเซฟ ปิวซูตสกี (J?zef Pi?sudski) ซึ่งถ้าสำเร็จก็จะรวมลิทัวเนียและสาธารณรัฐประชาชนยูเครนเข้าด้วย
ในปัจจุบันประเทศโปแลนด์ถือว่ามีรากฐานมาจากเครือจักรภพโปแลนด์-ลิทัวเนีย แต่ประเทศลิทัวเนียซึ่งก่อตั้งใหม่หลังสงครามโลกครั้งที่ 1 เมื่อเริ่มได้รับอิสรภาพใหม่มองเห็นการรวมตัวเป็นเครือจักรภพในทางลบ, แต่ทัศนคตินี้ก็เปลี่ยนแปลงไปมาก[ต้องการอ้างอิง]
b. ^ Historians date the change of the Polish capital from Krak?w to Warsaw between 1595 and 1611, although Warsaw was not officially designated capital until 1793. The Commonwealth Sejm began meeting in Warsaw soon after the Union of Lublin and its rulers generally maintained their courts there, although coronations continued to take place in Krakow. The modern concept of a single capital city was to some extent inapplicable in the feudal and decentralized Commonwealth. Warsaw is described by some historians as the capital of the entire Commonwealth. Vilnius, the capital of the Grand Duchy, is sometimes called the second capital of the entity.
อ่านบทความฉบับสมบูรณ์ได้ที่ http://th.wikipedia.org/wiki/Polish–Lithuanian_Commonwealth